Tuesday, November 9, 2010

gogoland ไป ทัศนศึกษาจีน

รายงานผลการเดินทางไปราชการ เมืองหนานหนิง เป๋ยไฮ่ และ กุ้ยหลิน
ระหว่างวันที่ 17 – 24 ตุลาคม 2553
โดย นายสัจจพงษ์ ญาตินิยม

17 ตุลาคม 2553
เริ่มต้น 07.30 น. ข้าพเจ้าดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยรถโดยสารนั่งส่วนบุคคล พร้อมคณะเดินทางจำนวน 16 คน ประกอบ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ รองผู้อำนวยการ และศึกษานิเทศก์ จาก จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม โดยมีนางสาว จีลี่ลี่ อาจารย์จากสถาบันขงจื้อ เป็นผู้นำคณะไปเมืองหนานหนิง เครื่องบินของสายการบินไทย ออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 10 .00 น. ถึงสนามบินนานาชาติ เมืองคุณหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที และคณะได้รอเครื่องเพื่อต่อไปสนามบินนานาชาติเมืองหนานหนิง อุณหภูมิที่เมืองคุณหมิง 20 องศาเซลเซียส ลักษณะของสนามบินค่อนข้างเก่า การบริการไม่ดีนัก ห้องน้ำไม่สะอาด กลิ่นบุหรี่อบอวลทั่วห้องรอขึ้นเครื่อง แต่มีสัญญาณไวเลตให้บริการ คณะรับประทานอาหารเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยใช้น้ำร้อนที่ทางสนามบินเตรียมไว้ ใช้เวลาในการรอประมาณ 4 ชั่วโมง คณะได้เดินทางต่อโดยสายการบิน China Eastern ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ถึงสนามบินหนานหนิง คณะใช้เวลาเดินทางเข้าตัวเมืองหนามหนิง 30 นาที ระหว่างทางเข้าเมืองมีการตกแต่งด้วยต้นไม้สวยงาม เพราะมีงาน อาเซียนเอ็กโปร ซึ่งจัดขึ้นทุกปีที่เมืองหนานหนิง รับประทานอาหารค่ำที่ภัตราคารก่อนเข้าพักที่ ซินหัวไทม์โฮเทล เมื่อเวลา 21.00 น.


18 ตุลาคม 2553
เริ่มเวลา 09..00 น. คณะ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชม โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยชนชาติกว่างสี ระดับมัธยมศึกษา โดยโรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมดมี 800 คน ส่วนใหญ่เป็นบุตรบุคลากรของมหาวิทยาลัย และชนชาติพื้นเมืองได้แก่ชาวจ้วง และอื่น ๆ ซึ่งเป็นเขตยากจน จำนวน ร้อยกว่าคน อาจารย์ประจำ 60 คน สถานที่ของโรงเรียน ใช้อาคารเก่าของมหาวิทยาลัยในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในปีหน้าอาคารหลังใหม่จะสร้างเสร็จ วิธีการจัดการเรียนการสอน ใช้วิธีการสอนจากยุโรปและสหัฐอเมริกา มีครูภาษาต่างประเทศจากอเมริกามาทำการสอนทุกปิดภาคเรียน โดยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยกว่างสี พยายามจะเน้นการแลกเปลี่ยนนักเรียนในเอเชีย เช่น ไทย เวียดนาม ซึ่งในตอนนี้ก็มีนักเรียนแลกเปลี่ยนกับไทยอยู่
ด้านรายได้จากการจัดการเรียนการสอน มัธยมศึกษาตอนต้น เรียนฟรี ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลาย จ่ายเงินเรียน นักเรียนอยู่หอพัก ชำระค่าเล่าเรียนประมาณปีละ 75,000 บาท โดยภาพรวมของโรงเรียนยังไม่มีชื่อเสียงนักในหนานหนิงแต่บุคลากรที่นี่มีความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนและเชื่อว่าเราอาจได้ร่วมมือกันในอนาคต

เวลา 11.00 น. คณะได้เข้าร่วมพิธีเปิด”โครงการนำผู้บริหารโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยศึกษาดูงานด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน” โดยรองอธิการบดี หลี่ เซ็น ถัง ซึ่งได้แนะนำมหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี หลักสูตรที่เปิด ตั้งแต่อนุบาล ถึงปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมีความเป็นสากล มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย งานวิจัยด้ารวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวกับชนชาติส่วนน้อยก็มีมากโดยเฉพาะงานวิจัยด้านภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมหาวิทยาลัยเปิดสอนอยู่ 9 ภาษา เช่น ไทย เวียดนาม พม่า กัมพูชา มาเลเซีย เป้นต้น มหาวิทยาลัยมีนิสิตต่างชาติ 2,000 กว่าคน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนิสิตต่างชาติมากที่สุด ท้ายสุดรองอธิการบดีก็ขอให้ทางคณะได้นำเรื่องราวในการทัศนศึกษาที่ประเทศจีนไปเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป จากนั้น คณะได้ไปรับประทานอาหารเที่ยงที่โรงอาหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการโดยเอกจนลักษณะภัตราคาร
เวลา 13.00 น. คณะเดินทางได้เยี่ยมชมกิจการของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยกว่างสี (ฝ่ายประถม) รายละเอียดของโรงเรียนประถม มีนักเรียน 500 คน เป็นบุตรบุคลากร ครึ่งหนึ่ง ครูประจำการ 35 คน มีนักเรียน 200 คนอาศัยในหอพักนักเรียน ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนแข่งขันกับตัวเอง และดูเคร่งครัดในการจัดการเรียนการสอนมาก ผู้เรียนถูกคัดเกรดเป็นห้อง ตั้งแต่ เกรด เอ ถึง ดี จัดการเรียนการสอนตามลักษณะของผู้เรียน โรงเรียนได้จัดการแสดงพิเศษคือการเล่นพินพร้อมขับร้องโดยนักเรียน ป. 6 ซึ่งสะท้อนถึงถึงความสามารถของนักเรียนได้ดี โดยในภาพรวมและการสัมภาษณ์โรงเรียนประถมจะมีคุณภาพ และชื่อเสียงดีกว่า โรงเรียนมัธยม
หลังรับประทานอาหารเย็น คณะได้เข้าชมห้างสรรพสินค้าและเมืองหนานหนิงยามราตรี ก่อนกลับเข้าที่พักที่ ซินหัวไทม์โฮเทล เวลา 20 .00 น.

การบรรยายพิเศษของ ศาตราจารย์ ฟ่าง ขง กุ้ย มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างสี
เรื่อง รากเหง้าเดียวกันระหว่างไทยกับจ้วง
อังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ศูนย์นักศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างสี เมืองหนานหนิง มณฑลกว่างสี ประเทศจีน

*สัจจพงษ์ ญาตินิยม
-------------------------------

ศาสตราจารย์ฟ่าง ขง กุ้ย มีประสบการณ์สูง ได้รับเชิญให้ไปบรรยายหลายประเทศรวมทั้งไทย ประเด็นที่สำเสนอในวันนี้คือ ความสัมพันธ์ระหว่างจ้วงสิบสามชนชาติกับภาษาไทย ตัวอย่าง คำว่า ไฟ มาจาก ภาษาจ้วง ไม่ได้ยืมจากภาษาอังกฤษ คำว่า เมล็ดพันธุ์ มาจาก ภาษาจ้วงที่กว่างสี ไม่ไดยืมจากภาษาบาลี คำว่าเปลือกของหน่อไม้ ผลไม้ มะไฟ จ้วงเรียกมะไฟ เหมือนกัน ไม่มีน้ำดำนา ภาษาจ้วง คำว่าน้ำ เป็นสระเสียงสั้น ไทย เสียงยาว เคยเอาคำภาษาจ้วงแปดร้อยคำมาวิจัยพบว่า เหมือนกัน น่าจะมีจากรากเดียวกัน
มุมมองด้านภาษาศาสตร์ไม่เพียงพอ ต้องเอาหลาย ๆ ศาสตร์มารวมกัน ถึงจะพบความจริง
ชื่อของดินแดน บ้าน หรือ บาน นา ที่ลุ่ม เมือง ใช้เหมือนกัน เพลงลูกทุ่งมีจังหวะและท่วงทำนองคล้ายกัน
เมื่อปี 1996 จีนจัดสัมมนาเพลงลูกทุ่งในชนกลุ่มน้อย มีวิทยากรหลาย ๆ ได้มาร่วมงาน มีอาจารย์จ้วงร้องเพลง ผู้ร่วมสัมมนาที่มาจากเวียดนามกัมพูชาประหลาดใจและตื่นเต้นมาก เพราะเสียง จังหวะ ท่วงทำนอง คล้ายกัน
ชนชาติที่ใกล้เคียงกันไม่ใช่มีเพียงไทย ที่เวียดนาม มี สิบ และลาว ห้า ไทย ไทยและลาว พม่าเรียก สนดัง อินเดีย ก็มี ทั้งหมดมี หกประเทศ ประชากรมีประมาณ แปดล้านคน ต้นกำหนดของชนชาตินี้มาจากไหนนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่ยังไม่มีทางออก
โดยหลักการวิจัยของอาจารย์คือทำวิจัยหลาย ๆ ด้าน มาประกอบกัน
มีเอกสารโบราณกล่าวถึงไก่ตอน คนตอน ซึ่งใช้ภาษาเดียวกัน
คำว่าเสื้อมีมาก่อนกางเกง เพราะหลักฐานโบราณระบุว่า สมัยโบราณคนไม่ได้นุ่งกางเกง แต่กางเกงเพิ่งมีมาทีหลัง ชื่อเรียกจึงแตกต่างกันไป
การศึกษาเรื่องเพลงอพยพ จะพบคำเก่า ๆ หลายคำ
นอกจากนี้ยังต้องศึกษาจากซากฟอสซิว พบว่า สัตรบางชนิดเหมือนกัน อากาศก็เหมือนกัน เหนือเมืองกุ้ยหลินเคยมีหิมะตกอาจยืนยันได้ว่า ต้นกำหนดของไทย ต้องมากจากตอนเหนือ มีการอพยพหลายๆ รุ่น และหลากหลายที่
* อาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)


1400 ปีที่ห่างกัน วัฒนธรรมเริ่มแตกต่างกัน ไทยรับอิทธิพลจากอินเดีย ส่วนจ้วงได้รับอิทธิพลจากฮั่น แต่ก็มีประเพณีที่สืบทอดคล้ายกัน กบกินเดือน(ไทยลาว จ้วง เวียดนาม ไต) หมากินเดือน (จ้วงพม่า) ฟิลิปปินส์ (นกกินเดือน) ใน ศตวรรษที่ สาม มีการบันทึกเรื่องปรากฏการณ์ จันทรุปราคา ยืนยันความเชื่อเรื่องกบ เพราะ มีกบก็มีฝน ที่หนองคายมีภาพวาดที่คนไหว้ขอฝน มีรูปกบมาขอฝนด้วยเรื่องพญาแถน ก็มีเหมือนกัน
เรื่องกลองสัมฤทธิ์ (ที่กวางสี รัฐบาลจีน มีห้าร้อยกว่าใบ ส่วนเอกชน ประมาณ 1300 ใบ ) ประโยชน์ของกลองมี เก้ารายการ เช่น กษัตริย์ตีกลองเริ่มฤดูทำนาเพื่อให้เกิดสิริมงคล (กลองแสดงถึงอำนาจ)เอกสารโบราณระบุว่า หากจะได้กลองดี ต้องเอาวัวควายหนึ่งพันตัวมาแลก ใครมีกลองก็เป็นหัวหน้าเผ่า หัวหน้าเผ่าต้องทำนาเป็นคนแรก ซึ่งสอดคล้องกับพระราชพิธีแลกนาขวัญ
การผูกข้อต่อแขนก็ยังมีเหมือนกันกับชาวจ้วง มีเรื่องยักษ์ที่อยู่ในน้ำ พระยานาค
ใช้จมูกดื่มน้ำไม่มีในไทย นอกจากสำลักน้ำ
วันที่สามเดือนสาม ชาวจ้วงมีประเพณีกินข้าวเหนียวห้าสี ไทยเรียก บุญข้าวจี่ กินไข่มดแดง เหมือนกัน ชนชาติ
เรื่องนิทานหมาเก้าหาง หมาเก้าหางมาถึงโลกมนุษย์เอาข้าวเม็ดใหญ่มาแล้วแตกกระจายกลายเป็นข้าวซึ่งมีเหมือนกัน
เรื่องแมงกุดจี่ก็มีกินเหมือนกัน แมงกุดจี่มาจากฟ้า กษัตริย์สั่งให้ทำอาหารให้คนกิน สามวันกินหนึ่งครั้ง แต่แม่กุดจี่ให้กินวันละสามครั้ง ผิดคำสั่งกษัตริย์ กษัตริย์จึงสั่งให้ไปกินขี้ เรื่องปลาบู่ (ซึ่งเนื้อเรื่องคล้าย ๆ กัน ประมาณ สองร้อยเรื่อง) เรื่องข้าวเม่า เรื่องขวัญ เป็นต้น ท้ายสุดของการบรรยาย ท่านได้ฝากให้ลักษณะการวิจัยเหล่านี้ เป็นเรื่องฝากให้ทำ เพื่อทำให้เกิดความกระจ่างแก่วงวิชาการด้านมานุษยวิทยาต่อไป

หลังรับประทานอาหาร คณะ ได้เดินทางออกจากเมืองหนานหนิง มุ่งหน้าลงใต้ สู่เมืองเป๋ยไฮ่ เมืองชายแดนติดกับทะเล ระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร โดยทางด่วนของประเทศจีน ค่าใช้จ่ายในการผ่านทางด่วนประมาณ 1,500 บาท ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง
เมืองเป๋ยไห่ ตั้งอยู่ในมณฑลกวางสี อดีตเคยเป็นท่าเรือที่สำคัญของจีน แต่ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญและมีสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจหลายแห่ง แต่ที่มีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยว คือ หาดเงินเป๋ยไห่ (Silver Beach) ที่มีหาดทรายยาวถึง 24 กิโลเมตรด้วยความที่ทำเลดีเพราะอยู่ใกล้ประเทศเวียดนาม ฮ่องกง และมาเก๊า จึงมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมืองให้เจริญ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป๋ยไห่ เป็นเมืองที่ถูกคาดการณ์เอาไว้ว่าน่าจะ “โตเร็วที่สุดในโลก” เนื่องจากมีอัตราการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของประชากรในช่วงปี ค.ศ. 2006-2020 สูงถึง 10.58% ต่อปี ซึ่งหมายความว่าภายในปี ค.ศ. 2020 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า เมืองเป๋ยไห่ จะมีประชากรราว 1,250,000 คน จากเดิมที่มีเพียง 306,000 คนในปี ค.ศ. 2006 (ที่มา http://webboard.sanook.com/forum/3156192_15999038) เดินเที่ยวที่ใจกลางเมืองเป๋ยไฮ่ ก่อนเข้าที่พักที่โรงแรม Sunshine Holiday Hotel เข้านอนเวลา 20.00 น.
วันที่ 20 ตุลาคม 2553
ออกจากที่พักเวลา 08.00 น. แวะชมทะเลที่เป่ยไฮ่ลักษณะเป็นทรายละเอียด ไม่สะอาดเท่าไหร่ นักท่องเที่ยวมาก มีประติมากรรมคือ รูปปั้นโลก และผู้หญิงเปลือย ถัดจากนั้นคณะ เดินทางตลอดวันจุดหมายปลายทางคือเมืองกุ้ยหลิน
กุ้ยหลิน(Guilin)
เป็นหนึ่งในเมืองเอกของมณฑลกว่างซี มณฑลทางภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 240,000 ตารางกิโลเมตร ทางทิศใต้ติดกับมณฑลหยุนหนัน ทางเหนือติด กับกุ้ยโจว ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับหูหนัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับกว่างตง ทางใต้ติดกับอ่าวตังเกี๋ย และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับ ประเทศเวียดนาม ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบแอ่งกระทะ และเทือกเขาขนาดเล็กที่ยาวคดเคี้ยวติดต่อกัน เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ ภูเขาต้าหมิงซันและต้าเหยาซัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นเขตหินปูนขาวที่ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีถ้ำหินปูนอยู่มากมาย สภาพอากาศเป็นแบบเขตร้อน โดยทางเหนือเป็นเขตร้อนแถบเอเชียกลาง ทางใต้เป็นเขตร้อนแถบเอเชียใต้ อุณหภูมิเฉลี่ย 16-23 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุก ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 27-29 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 5.5-15.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-2,800 มิลลิเมตรต่อปี
เดินทางถึงเมืองกุ้ยหลิน 20.00 น. รับประทานอาหารค่ำและเข้าที่พักที่โรงแรม Hongkong

วันที่ 21 ตุลาคม 2553
ออกเดินทางจากที่พักเวลา 08.00 น. เพื่อล่องเรือที่แม่น้ำหลีเจียง แม่น้ำหลีเจียง ( Li River) หลีเจียง มีต้นน้ำมาจากเขาลูกแมวหรือที่ชาวจีนเรียกว่า “ มาวเอ๋อ ” ในเขตอำเภอซิงอ่านเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกวางสี ไหลลดเลี้ยวหลบหลีกขุนเขา ผ่านเมืองกุ้ยหลินถึงอำเภอหยางซั่วรวมความยาว 431 กิโลเมตร โดยมีชื่อใหม่ ช่วงต่อจากนั้นว่า กุ้ยเจียง ไหลเข้าสู่ชายแดนที่อำเภออู๋โจวเข้าสู่ทิศตะวันตก ของมณฑลกวางตุ้งที่เมืองเฟิงคาย มีชื่อใหม่ในกวางตุ้งว่า แม่น้ำตะวันตกหรือซีเจียง ไฮไลต์ของการมาเที่ยวที่กุ้ยหลินนี้อยู่ที่การล่องแม่น้ำหลีเจียง ที่มีความยาวกว่า 400 กิโลเมตร เพื่อชมทิวทัศน์ที่สุดงดงามของภูเขาหิน ทั้งนี้โดยปกติแล้วการล่องแม่น้ำหลีเจียงเพื่อการท่องเที่ยวจะทำกันในระยะเวลา 60 กิโลเมตรโดยใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเท่านั้น ด้วยเรือ 3 ชั้น ที่สองชั้นล่างจะทำเป็นโต๊ะอาหาร ขณะที่ดาดฟ้าจะเปิดโล่งให้นักท่องเที่ยวชมทิวทัศน์กันได้อย่างอิสระ ในราคาประมาณ 270 หยวน ( ราวพันกว่าบาท ) จุดหมายของการล่องเรือจะอยู่ที่เมือง หยางซั่ว (Yang-Shou)
หยางซั่ว ( Yangshuo)
ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองกุ้ยหลิน ห่างไปประมาณ 65 กิโลเมตร เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์สวยงาม จนมีคำกว่าวว่า “ หากกุ้ยหลินเป็นเมืองที่สวยที่สุดในจีน หยางซั่วก็เป็นที่ ที่สวยที่สุดในกุ้ยหลิน ” การเดินทางไปเมืองหยางซั่ว ทำได้ทั้งการล่องแม่น้ำหลีเจียง หรือโดยรถยนต์ หยางซั่ว เจริญเติบโตเพราะการท่องเที่ยว ทั้งหมู่บ้านแทบไม่มีสถานที่น่าสนใจ นอกจากร้านขายของ ร้านอาหาร และโรงแรม แต่รอบๆบริเวณเมืองหยางซั่ว มีสถานที่น่าเที่ยวชมหลายแห่ง นับว่าเป็นสวรรค์บนดิน ที่มีชื่อเสียง จนนักท่องเที่ยวมากุ้ยหลินแล้วต้องแวะ มาที่ หยางซั่ว ด้วย เนื่องจากการเดินทางโดย รถยนต์ที่ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรืออาจจะนั่งเรือชมทัศนียภาพของหลีเจียง แล้วมาพักแรมที่หยางซั่ว ที่นี่จะสงบเงียบ เหมือนชนบท แต่ก็มีสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างพรั่งพร้อมแก่ นักท่องเที่ยว ในราคาถูก ซึ่งจะมีย่านซึ่งประกอบไปด้วย ที่พักราคาถูก มีวิดีโอหนังฮอลลีวู้ดฉาย พร้อมร้านอาหารคาเฟ่ สไตล์ตะวันตก มีขนมแพนเค็ก พร้อมกาแฟ เพียงแต่ลูกค้ามีแต่ชาวต่างชาติเท่านั้น (ที่มา : www.travelchinaguide.com,วิกีพีเดียสารานุกรมเสรี)
ตอนเย็นเข้าชมการแสดงหลิว ซาน เจี๋ย การแสดงแสง สี เสียง ที่งดงามโดยใช้คนแสดงทั้งสิ้น 600 คน ผู้ชมในแต่ละรอบ ประมาณ 4,000 คน กลับถึงที่พัก 21.00 น.
ออกจากที่พัก เวลา 08.00 น.เพื่อเดินทางมาเขางวงช้าง เขางวงช้าง (Elephant Trunk Hill) เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกุ้ยหลิน ตั้งอยู่ในตัวเมืองบริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ หลีเจียงและถาวฮวาเจียง ( หยางเจียง ) เขางวงช้างมีรูปร่างหากมองจากมุมที่เหมาะจะเห็นเหมือนช้างกำลังใช้งวงดูดน้ำจากแม่น้ำหลีเจียง มีถ้ำลอดระหว่างงวงและขาหน้าของงวงช้างเป็นรูปทรงกลม มองดูคล้ายพระจันทร์กำลังตกน้ำยามพลบค่ำ ถ้ำนี้จึงมีชื่อว่า “ สุ่ยเย่ ” หรือพระจันทร์บนผิวน้ำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นหน้าขึ้นตาของเมือง
เวลา 10.00 น. เดินทางกลับเมืองหนานหนิง ถือที่พักที่โรงแรมซินหัวไทม์โฮเทล เวลา 20.00 น.
วันที่ 23 ตุลาคม 2553

เที่ยวตลาดนัดคล้ายจตุจักร ก่อนเดินทางเข้าร่วมพิธีปิดเวลา 14.00 น. เดินทางไปสนามบินหนานหนิง เพื่อกลับประเทศไทย โดยเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินฮ่องกง ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 23.00 น. โดยสวัสดิภาพ