Saturday, October 12, 2013

EDUCA 2013

EDUCA2013
นายสัจจพงษ์  ญาตินิยม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

หลังจากได้เข้าฟังการถ่ายทอดความรู้จากผู้มีประสบการณ์ทางด้านการศึกษา งาน EDUCA2013 ใน 4 ประเด็น คือ นวัตกรรมการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การยกระดับคุณภาพครูด้วยการเรียนเชิงรุกออนไลน์  แนวคิดการเรียนรู้แบบ STEM  และเทคนิคการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อประกันคุณภาพได้ข้อสรุปตามประเด็นที่กล่าวมา ดังนี้

นวัตกรรมการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นหัวข้อที่บรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนของกระทรวงศึกษาธิการคือ ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษา สพฐ. อดีต ผอ. สำนักนโยบายและแผนของกระทรวง ที่เสนอมุมมองของการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์/การบริหารธุรกิจ เช่น Strategic Planning, Scenario Planning, TQM, PETS, RART, Six Sigma  และ Benchmarking มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างน่าสนใจ โดยยกตัวอย่างประกอบได้อย่างชัดเจน เช่น วงจรการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ต้องใช้เครื่องมือ Meta SWOT ขั้นการหาสาเหตุ ใช้ Logic Model หรือขึ้นการสร้างทางเลือก ใช้เครื่องมือ PART PPMGO Strategic Map หรือ Benchmarking มาช่วยในการจัดการ ช่วงดำเนินการอยู่ก็ใช้ internal control, Risk management หรือขั้นติดตามผล ก็ใช้ PETS ,PART เป็นต้น

การยกระดับคุณภาพครูด้วยการเรียนเชิงรุกออนไลน์ บรรยายโดย ดร.ประกอบ กรณีกิจ ผู้ช่วยศาตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการนำเสนอแนวคิดและภาพอนาคตของระบบการพัฒนาครู ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้เว็บไซด์เป็นฐานในการพัฒนา มีเนื้อหาที่ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ คือ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการจัดการเรียนรู้ การติดต่อสื่อสาร และการประเมินผลการเรียน และมีการนำมาเนื้อหาจากรายการโทรทัศน์ครู มาฉายซ้ำ มีความคาดหวังว่าจะช่วยยกระดับคุณภาพของครูไทยได้

เติม STEM ให้เต็ม STAEM บรรยายโดย ดร.ยศวีร์ สายฟ้า คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวข้อด้านแนวคิดการจัดการศึกษาโดยเน้นไปที่กลุ่มที่ต้องการพัฒนาเฉพาะทาง  STEM จึงประกอบด้วยวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ โดยเชื่อว่ากลุ่มวิชาเหล่านี้เป็นสาขาที่จะเตรียมคนให้พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจัดการศึกษาให้กับนักเรียนทุกระดับ จึงไม่ต้องสงสัยที่ STEM เป็นนโยบายสำคัญของนายโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา  ที่ผลักดันและคาดหวังกับ STEM เป็นอย่างมาก โดยเน้นถึงความเสมอภาค และมองไปอย่างครบถ้วนถึงการพัฒนาครู และที่สำคัญคือผู้เรียนเมื่อผ่านการเรียนแล้วต้องมีคุณสมบัติเพิ่ม เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหา การเป็นนวัตกร มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง มีการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงตรรกะ มีความสามารถในการรู้และใช้เทคโนโลยี และการคิดเชื่อมโยงเอาองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตการทำงานได้ นักวิชาการหลายท่านได้เสนอความเห็นว่า ควรจะเพิ่มให้เป็น STEAM ด้วย หมายถึง เพิ่มวิชาศิลปะ (ART) เพื่อให้นักเรียนนั้นพัฒนาทักษะได้อย่างรอบด้าน และสมดุล ส่วนการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะครบถ้วนนั้น

 ประเด็นสุดท้ายคือ เทคนิคการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา บรรยายโดย ดร. อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มุ่งเน้นสร้างความเข้าใจในหลักการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ผ่านคำถาม 20 คำถาม และรูปแบบการอบรมที่เหมือนเรียนในห้องเรียนจริงมีการวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย โดยเนื้อหาสำคัญคือ การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย และพัฒนาผู้สอนให้สอนอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างสอนโดยการวิจัยในชั้นเรียน ผ่านขึ้นตอน PAOR (Plan>Action>Observation>Reflection) และประเด็นด้านสถิติที่น่าสนใจคือ การวัดความสามารถของผู้เรียนผ่านคะแนนพัฒนาการ (หลังสอบ – ก่อนสอบ / เต็ม – ก่อน x 100)  จะสะดวกกว่าการใช้ T-Test หรือ ANOVA นอกจากนี้แล้วยังเสนอถึงรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยที่ไม่จำเป็นถึง 5 บท แต่เน้นให้เขียนแล้วสามารถนำไปใช้ได้จริง

ภาพในอนาคตที่ข้าพเจ้าจะพยายามนำมาใช้ให้เกิดผล โดยการนำ 4 ประเด็นที่ได้รับฟังมาประยุกต์ในหน้าที่ คือ วิธีคิดของนวัตกรรมการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประเด็นเทคนิคในการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพราะเข้าใจว่า หากมีการขยับอะไรก็ตามในองค์กร การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจทำให้คนเจ็บปวด  แต่วิทยากรได้ชี้ให้เห็นว่า การทำข้ามขั้นตอนเป็นส่วนหนึ่งของความไม่สำเร็จ ขั้นแรกสุดของการบริหารความเปลี่ยนแปลงคือ การ การบิ้วอารมณ์ (สร้างความรู้สึกร่วม) ให้คนเห็นความสำคัญ จากนั้นหาคนคิดร่วมกันอย่างน้อยความเกินครึ่งของประชากร (สร้างทีมงาน) และสร้างภาพความสำเร็จให้เห็นในจินตนาการก่อน (กำหนดวิสัยทัศน์) เผยแพร่ให้คนทั้งหมดรู้ (สื่อสารวิสัยทัศน์) ที่เหลือที่ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างความสำเร็จระยะสั้นให้เกิดขึ้น ชื่นชมผู้ทำงาน ขยายผลและสร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงให้คงอยู่

แนวความคิดที่น่าสนใจอีกอย่างคือ หลักของประสิทธิภาพ (ประโยชน์สูงประหยัดสุด เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก) และประสิทธิผล (ได้ผลตรงเป้าหมาย) จะนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงเรียน เช่น การพิจารณางบประมาณ ให้พิจารณาโดยดูผลงานก่อน  หรือหากมีอะไรบกพร่องกลุ่มหรือบุคคลนั้นต้องถูกคิดบัญชี (Accountability) นอกจากนี้แล้ววิทยากรได้อธิบายหลักการปรับตัวสู่ปัจจัยภายนอกที่ควบคุมยาก มี 2 อย่าง คือ ปรับสินค้า(เป็นไปตามความต้องการของคน) และปรับสภาพแวดล้อม (ให้คนอยากได้สินค้า) โดยโรงเรียนต้องออกมายืนมองตัวเองนอกโรงเรียนแล้วว่า สภาพแวดล้อมต้องการเราในแบบใด ในส่วนตัวหลักสูตร เราจะต้องเติมเต็มแนวคิดของ STEM หรือ STAEM ให้กับเด็กนักเรียนของเรา เพื่อทำให้เป็นบุคคลยุคใหม่สอดคล้องกับความต้องการของ AEC หรือของโลก โดยไม่ทิ้งการพัฒนาครูเชิงรุกให้รับความรู้เท่าทันกับสังคมโลกและทำงานวิจัยที่เกิดผลดีจริงกับนักเรียน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการเชื่อมโยงนโยบายกับภาพของวิสัยทัศน์ใหม่ที่ผ่านการวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของสังคมให้ได้

3 comments:

Anonymous said...

มาเห็นข้อความโดยบังเอิญครับ ชื่นชอบที่ครูโก้สรุปประเด็นที่ได้จาก EDUCA2013 เหมือนกับทำ KM ไปในตัวครับ อยากให้คุณครูทุกท่านทำเหมือนครูโก้เช่นกันครับ เลยแวะมาให้กำลังใจครูโก้ครับผม

อ.อิทธิพัทธ์ (จาก มศว ที่บรรยายเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อประกันคุรภาพการศึกษาในงานEDUCAครับ)

Unknown said...

ขอบคุณมากครับ อ.ธิทธิพัทธ์ อาจารย์ของเราที่เข้าร่วม EDUCA 2013 จำนวน 46 คน สรุปประเด็นทุกคน โรงเรียนก็จะรวบรวมจัดทำเป็นเล่มเอกสารแจก และัก็จัด 1 วัน เพื่อครูเล่าให้อาจารย์ที่ไม่ได้เข้าไปได้รับฟัง ถ้ายังไง อ.ให้ที่อยู่ไว้ เดี๋ยวผมจะส่งเล่มไปให้ครับ

Anonymous said...

ยินดีและขอบพระคุณมากครับอาจารย์ หากได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณครูทุกท่านครับ

ที่อยู่เพื่อการติดต่อครับ
อ.ดร.อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ 10110 ครับ
Email : pong_tabo@hotmail.com